บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2017

สร้างข้อมูลเส้นตรงด้วย Ramp Pattern.VI (LabVIEW)

รูปภาพ
กล่องคำสั่ง Ramp Pattern.VI เป็นกล้องคำสั่งสร้างข้อมูลแบบเชิงเส้น ภายในกล่องมีการสร้างข้อูล 2 แบบ คือ Ramp by Samples (รูปที่ 1 (ก)) และ Ramp by Delta (รูปที่ 1 (ข)) รูป 1 (ก) Ramp by Samples และ (ข) Ramp by Delta Ramp by Samples เป็นการสร้างข้อมูลเส้นตรงจำนวนข้อมูลเท่ากับ Samples โดยเริ่มต้นที่จุด X 1 =0 และ Y 1 =Start จุดจบที่จุด X 2 =Samples และ Y 2 =End ถ้า Samples = 1 แล้ว Exclude end? เป็น TRUE จะคืนค่า Start และ error = 0 แต่กรณีที่ Exclude end? เป็น FALSE จะคืนค่า error = -20006 และข้อมูลขาออกเป็นว่างเปล่า ใน LabVIEW Help มีตัวอย่างการใช้งานกล่องคำสั่ง Ramp Pattern.VI ดังรูปที่ 2 รูป 2 ตัวอย่างการเชื่อมกล่องคำสั่ง Ramp Pattern.VI (LabVIEW Help) Ramp Pattern Details เป็นการสร้างข้อมูลเชิงเส้นเช่นเดียวกัน ใส่ข้อมูลตั้งต้นน้อยกว่า แต่มีความซับซ้อนกว่า Ramp by Samples ข้อมูลแต่ละจุดคำนวณได้ตามสมการด้านล่างนี้ X i = X 0 + i ∆ X เมื่อ I = 0, 1, 2, …, n-1 ที่ X 0 เป็น Start ส่วน ∆ X(delta) = (end-start)/(n-1) และ n = sample = [(end-start)/ ∆ X]+1 ตัวอย่าง...

Array Subset (LabVIEW)

รูปภาพ
Example:

Auto Image rotation by LabVIEW

รูปภาพ
     ก่อนเริ่มต้นเขียนโปรแกรม ผู้เขียนลองนั่งคิดถึงวิธีการหมุนภาพตามการตัดสินใจของมนุษย์ โดยทั่วไปมนุษย์สามารถเห็นภาพแล้วบอกได้ทันทีว่า ภาพนั้นเอียง และสามารถปรับภาพเอียงให้ตรงได้ทันที่ เช่น คุณลองดูรูปที่ 1 แล้วหมุนรูปนั้นให้แนวการวางหนังสือขนานไปกับแนวแกน x คุณรู้ได้ในทันทีว่าควรหมุนภาพอย่างไร รูปที่ 1 แบบจำลองการตัดสินใจของมนุษย์ในการหมุนภาพ เมื่อต้องมานั่งเขียนโปรแกรม ผู้เขียนคิดว่าทำไมเราถึงหมุนภาพไปทิศทางนั้น โดยเริ่มต้นจากการตั้งคำถาม 1. สิ่งใดที่ใช้ในการพิจารณาในการหมุนภาพ ตอบ จุด A และ B 2. หมุนใบในทิศทางใด ตามเข็มหรือทวนเข็ม ตอบ พิจารณาจากความชันระหว่างจุด A กับ B หรือใช้ตรีโกณมิติเข้ามาพิจารณา 3.หมุนไปเป็นมุมเท่าใด คำนวณไงดี ตอบ พิจารณาจาก ระบบพิกัดฉาก ว่าจุดผลลัพธ์ของการหมุนอยู่ที่ใด ในตัวอย่างนี้คือตำแหน่ง A´ แล้วคำนวณหามุมการหมุนด้วยตรีโกณมิติ      จากการตั้งคำถามที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ สรุปได้ว่า เราต้องค้นหาตำแหน่ง A และ B ในภาพให้ได้ก่อนแล้วสมมุติว่าเราต้องการหมุนจุด A ไปยังจุด A' ด้วยมุมเซต้า ซึ่งมุมเซต้าคำนวณได้โดยใช้ตรี...

เพิ่ม VDO จาก Google Drive

รูปภาพ
     ผู้เขียน Blogger บางคน อาจจะต้องการแสดง VDO ที่มีขนาดใหญ่ แต่ไม่สามารถอัพโหลดเข้า Blogger ได้ เนื่องจากทาง Blogger กำหนดขนาด VDO ที่อัพโหลดไว้ที่ Blogger ต้องมีขนาดไม่เกิน 100 MB ผู้เขียนจึงเสนอวิธีการแสดง VDO ที่เก็บไว้ที่ Google Drive     การนำ VDO ที่เก็บไว้ที่ Google Drive มาแสดงบนหน้าเว็บ เรียกวิธีนี้ว่า Embed videos มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ ตั้งค่าการเข้าถึง VDO (Share) เป็น Public on the web (วิธีการตั้งค่า อ่านเพิ่มเติมได้ที่ หัวข้อ " วิธีการวางไฟล์ PDF ที่อยู่ใน Google Drive ใน Blogger ") เปิด VDO /ไปที่เมนูมุมขวา รูปจุด 3 จุด ถ้าไม่มีตัวเลือก Embed Item... ให้เลือก Open in new window   เปิดหน้า VDO ใหม่ตามขั้นตอนที่ 2 แล้วไปที่เมนูมุมขวาอีกครั้ง เลือก Embed Item... โค้ดสำหรับแสดง VDO ดังรูป คัดลอกโค้ดที่ปรากฎไปวางใน Blogger ในส่วนของ HTML เปลี่ยนกลับมาหน้าเขียนจะได้ VDO ดังรูป ตัวอย่างผลการ Embed videos 

Setting front panel when run vi (LabVIEW)

รูปภาพ
บทนำ         ผู้พัฒนาโปรแกรมด้วยโปรแกรม LabVIEW บางครั้ง คงรู้สึกอยากจะซ่อน menu bar หรือ toolbar เพื่อให้ผู้ใช้สนใจเพียงปุ่มบนโปรแกรมที่ผู้พัฒนาโปรแกรมกำหนดไว้เท่านั้น วันนี้ผู้เขียนจะแสดงวิธีการตั้งค่าการแสดงผลของหน้า front panel เมื่อ RUN โปรแกรม ขั้นตอน 1. เปิด .VI ที่คุณสร้างขึ้น หน้า Front panel มีองค์ประกอบดังรูปที่ 1 รูปที่ 1 ตัวอย่างหน้า Front panel 2. กำหนดค่าการแสดงผล โดยคลิกที่ File/VI Properties ดังรูปที่ 2 รูปที่ 2 ตำแหน่ง VI Properties 3. เมื่อเลือกตามหัวข้อ 2 แล้วหน้าต่าง VI Properties ปรากฎดังรูปที่ 3 (ก) เลือก Window Appearance จากกล่องข้อความ Category หน้าต่างเปลี่ยนเป็นรูปที่ 3 (ข) รูปที่ 3 (ก) ตำแหน่งเลือก Window Appearance และ (ข) หน้าต่าง Window Appearance 4. เลือก Customize แล้วคลิก Customize... ในรูแ 3 (ข)  จะปรากฎหน้าต่าง Customize Window Appearance คุณสามารถกำหนดการแสดงผล Front panel ได้ที่นี้ ตัวอย่างนี้กำหนดให้ซ่อน Menu bar toolbar และ scroll bar ตามรูปที่ 4 (ก) ได้ผลแสดงดังรูปที่ 4 (ข) ...

วิธีการวางไฟล์ PDF ที่อยู่ใน Google Drive ใน Blogger

รูปภาพ
1. คลิกขวาที่ไฟล์ PDF /Share.../Advanced/หัวข้อ Who has access เลือก change/On-Public on the web/Save เพื่อกำหนดไฟล์ที่ต้องใส่ใน  Blogger ให้บุคคลทั่วไปสามารถเปิดได้ ตามรูป 2. Copy link to share ตามรูปไปเปิดหน้าเว็บใหม่ 3. หน้าแสดงผล PDF จะปรากฎดังรูป 4. คลิกปุ่มสามจุดทางมุมบบนซ้ายดังรูป เลือก Embed item จะปรากฎกล่องข้อความดังรูป 5. คัดลอกข้อความในกล่อง Embed item ไปใส่ใน Blogger ทางฝั่งโค้ด HTML 6. ตัวอย่างผลการวาง PDF ใน Blogger

เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้น (DHT22) หลังกลับมาจากโรงเลี้ยงไก่

รูปภาพ
เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้น (DHT22) หลังกลับมาจากโรงเลี้ยงไก่      ผู้เขียนได้เช็คเซ็นเซอร์ DHT22 ที่ไปติดตั้งที่โรงเลี้ยงไก่เป็นเวลา 2-3 เดือนกลับมา พบว่าค่าความชื้นที่อ่านได้มีค่าผิดเพี้ยนไปจากปกติมาก เช่น วัดความชื้นภายในห้องทำงานของผู้เขียนเองวัดความชื้นได้ 99.9% เป็นต้น ผู้เขียนจึงทดสอบวัดความชื้นภายในห้องด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้นที่ผ่านการตรวจสอบค่าอุณหภูมิ และความชื้นมาระดับหนึ่ง (Testo 605i) เซ็นเซอร์ DHT22 ตัวที่นำมาจากโรงเลี้ยงไก่และเซ็นเซอร์ DHT22 ที่อยู่ในห้องทำงงานของผู้เขียน ดังรูป 1 (ก) รูปที่ 1 (ก) ตัวอย่างเซ็นเซอร์ที่ใช้ทดสอบ (ข) ค่าที่อ่านได้จาก Testo 605i (ค) ค่าที่ได้จากเซ็นเซอร์จากโรงเลี้ยงไก่ และ (ง) ค่าที่ได้จากเซ็นเซอร์ที่ห้องทำงาน      พบว่าเซ็นเซอร์ที่ได้เก็บกลับมามีค่า %Error ของความชื้น มากกว่าเซ็นเซอร์ที่อยู่ในห้อง 2 เท่า เมื่อเทียบกับเครื่องมือวัดอุณหภูมิและความชื้น รุ่น Testo 605i ผู้เขียนคิดว่าเซ็นเซอร์ที่เก็บกลับมานั้นมีฝุ่นเกาะ ทำให้อ่านค่าผิดพลาดไป ผู้เขียนจึงแกะเซ็นเซอร์ดังกล่าวดู พบว่ามีเส้นใย ...